Articles & News
เนื่องจากวีดีโอที่บันทึกไว้ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 100% ดังนั้นจะมีการนำวีดีโอที่สอนในรุ่นต่อ ๆ ไปมาลงไว้ในภายหลังซึ่งจะทำให้ในอนาคตวีดีโอจะมีหลายเวอร์ชั่น
***เนื้อหาในวีดีโออาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคต***
English Subtitle will update later
รวมท่ายืด ดัด เหยียด สารพัดอรรถประโยชน์ สำหรับการนวดไทย
A compilation of stretching, compressing, and elongating techniques with therapeutic benefits for Thai massage
คอร์สเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกาย (กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ) เข้าใจระบบร่างกายจากมุมมองการแก้อาการ เพื่อนำไปใช้ในการนวดแก้อาการโดยเฉพาะ สอดแทรกความรู้เรื่องกายบูรณาการและเส้นสิบ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการนวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กายวิภาคศาสตร์ (อังกฤษ: Anatomy; กรีก: ἀνατομία anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ [หรืออาจเรียกว่ากายวิภาคศาสตร์เฉพาะส่วน (topographical anatomy, regional anatomy หรือ anthropotomy)] เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์
หมายเหตุ :
เนื้อหาในคอร์สนี้เป็นเนื้อหาในหมวดที่ 1 ของคอร์สกายบูรณาการ เนื้อหาเสริมบางส่วนในวีดีโอนี้อ้างถึงเนื้อหาเสริมในคอร์ส กายบูรณาการ เรื่อง เอ็นและลม (หมวดที่ 2) และเรื่อง เส้นสิบ (หมวดที่ 3) ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ต่างหาก
*** เนื้อหาเรื่องเอ็นกับการหายใจ อยู่ในหมวดที่ 2 ***
*** เนื้อหาเรื่องตำนานเส้นสิบ อยู่ในหมวดที่ 3 ***
รายชื่ออาการ
1.อาการ hidden psoas
2.อาการพังผืดเกาะขอบสะบัก
3.อาการเจ็บกลางหลังจากกล้ามเนื้อ longissimus
4.อาการเจ็บกล้ามเนื้อรอมบอยด์ (กรณี สะบักไม่บิด ไม่ยก)
5.อาการเจ็บขอบสะบักจากกล้ามเนื้อ levator
6.อาการสะบักจม (รวมถึงอาการใกล้เคียงอื่น ๆ จะมีการแก้คล้าย ๆ กัน โดยมีจุดสังเกตคือองศาของสะบัก และ หัวไหล่มีความผิดปรกติไป โดยเฉพาะการบิดโน้มไปข้างหน้า)
รายชื่ออาการ
กลุ่มกระดูกสันหลัง
1.กลุ่มกระดูกสันหลัง และเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลัง T6-L2
2.กลุ่มกระดูกสันหลัง และเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลัง L3
3.กลุ่มกระดูกสันหลัง และเนื้อเยื่อรอบกระดูกสันหลัง L4-L5-S1
กลุ่มกล้ามเนื้อ
1.กล้ามเนื้อ Psoas
2.กล้ามเนื้อ Quadratus lumborum (QL)
3.กล้ามเนื้อ Oblique (external และ internal oblique)
รายชื่ออาการที่มีการแก้ไขจากเดิม (ปี 2561)
1.อาการปวดเข่าแบบเข่าบิดหรือปวดใต้พับเข่า เปลี่ยนเป็น อาการปวดเข่าด้านหน้าและปวดใต้พับเข่า
2.อาการเดินขาเบี่ยง (ชื่ออาการคงเดิม)
3.อาการเอ็นนิ้วก้อยเท้าอักเสบ (ชื่ออาการคงเดิม)
4.อาการข้อเท้าแพลงเรื้อรัง (ชื่ออาการคงเดิม)
5.อาการข้อสะโพกหลวม 1 เปลี่ยนเป็น อาการข้อสะโพกหลวม (อันเดียวกับข้อ 6)
6.อาการข้อสะโพกหลวม 2 เปลี่ยนเป็น อาการข้อสะโพกหลวม (อันเดียวกับข้อ 5)
7.อาการปวดหรือขัดขาหนีบ เปลี่ยนเป็น อาการขัดขาหนีบ
8.อาการขัดต้นขา เปลี่ยนเป็น อาการเข่าเสื่อม ปวดเข่าด้านหน้า (เข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น)
9.อาการขาชา (ตัดออก)
10.ตะคริวขา เปลี่ยนเป็น อาการคริวน่อง
11.อาการหลังเท้าบวม (ตัดออก)
12.ปวดเข่า เปลี่ยนเป็น อาการเข่าเสื่อม ปวดเข่าด้านหน้า (อันเดียวกับข้อ 8)
13.อาการปวดน่องใต้พับเข่า (เปลี่ยนเทคนิคใหม่ รอแจ้งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง)
14.อาการปวดเอ็นร้อยหวายถึงส้นเท้า (ย้ายไปอาการที่ 13)
15.อาการปวดเส้นกลางน่อง (ย้ายไปอาการที่ 11)
16.อาการปวดเส้นข้างเอ็นร้อยหวายอักเสบ เปลี่ยนเป็น อาการปวดเส้นข้างเอ็นร้อยหวาย (ย้ายไปอาการที่ 12)
17.อาการปวดใต้เนินนิ้วโป้งเท้า เปลี่ยนเป็น อาการปวดเนินนิ้วโป้งเท้า
18.อาการปวดใต้ฝ่าเท้า เปลี่ยนเป็น อาการเจ็บฝ่าเท้า และ อาการเจ็บเนินนิ้วชี้ กลาง นาง
19.อาการปวดขาหนีบ – ปัสสาวะบ่อย เปลี่ยนเป็น อาการปัสสาวะบ่อยและปวดขาหนีบร่วม (ย้ายไปอาการที่ 15)
20.อาการปวดน่อง เปลี่ยนเป็น อาการปวดน่อง (ใต้พับเข่าด้านใน) (ย้ายไปอาการที่ 14)
21.อาการเจ็บฝ่าเท้า (รออัพเดท)
22.อาการปวดส้นเทาใกล้กับเอ็นร้อยหวาย (รออัพเดท)
23.อาการปวดหลังเท้า (บริเวณแนวนิ้ว ชี้-กลาง-นาง) (รออัพเดท)
24.อาการรองช้ำ (รออัพเดท)
25.อาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รออัพเดท)
เนื้อหาในคอร์สนี้คัดออกมาจากคอร์สวิชากายวิภาคศาตร์และสรีรวิทยา+กายบูรณาการ ซึ่งเป็นคอร์สใหญ่ (20 บท) นะครับ ดังนั้นบางครั้งอาจจะมีการพูดอ้างถึงเนื้อหาในบทอื่น ๆ ก่อนหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องสนใจครับ สามารถดูไปเรื่อย ๆ ได้เลย เพราะที่คัดออกมาเป็นเนื้อหาที่แยกกันอยู่แล้ว
ในเรื่องของวิชากายบูรณาการนั้นได้รวบรวมเนื้อหาจากเอกสารการค้นคว้าวิจัย คัมภีร์ ตำรา ใบลาน และจารึกต่างๆ รวมถึงงานวิจัยทางคลีนิคจำนวนมาก รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 50,000 ฉบับ จึงขอสงวนลิขสิทธิ์ในส่วนของวิชากายบูรณาการ ห้ามไม่ให้ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ให้ไม่ให้เครดิต หรือนำไปใช้ในลักษณะการแอบอ้างว่าเป็นผู้คิดค้นขึ้นมาเองหรือเป็นเจ้าของความรู้
สำหรับการอ้างอิงทั้งในเชิงวิชาการและการใช้ส่วนตัว ให้อ้างอิงไว้ว่ามาจาก “ตำราหนุมานเปิดโรค” โดยอาจารย์ สุวัฒน์ อภิสิทธิ์เสรีกุล
เนื้อหาทั้งหมดมี 20 บท
เนื้อหาแบ่งเป็นดังนี้
หมวด 1 โครงสร้างร่างกายมนุษย์ 5 บท (เนื้อหาหลักครบแล้ว อนาคตจะมีอัพเดทเนื้อหาเสริม จิปาถะเพิ่มเติม)
หมวด 2 ลมและเส้น 9 บท (ลงแล้ว 40%)
หมวด 3 เส้นสิบและโรค 6 บท เนื้อหาจะลงเป็นกลุ่มหัวข้อก่อนแล้วแยกเป็นบทในภายหลัง ***ตอนนี้เนื้อหาจะข้ามมาอัพเดทในหัวข้อนี้ก่อน***
สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐาน เนื้อหาที่สอนจะค่อยเพิ่มรายละเอียดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นหากยังไม่เข้าใจ ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะจะมีอธิบายอย่างะเอียดเพิ่มเติมทีหลังในเนื้อหาส่วนของบทนั้นๆ
สำหรับการถามคำถามให้ถามในเพจfacebook ไปก่อนนะครับ ในอนาคตหากระบบเรียบร้อยมากกว่านี้จะมีระบบถามคำถามให้โดยเฉพาะ